คุณมนตรี ยอดปัญญา
ประธานศาลฎีกา ปี 2554 บวชลูกชาย
นายนภณัฐ ยอดปัญญา เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2554
ที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร


 

โกนผมนาค เริ่มโดยพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่
 หรือผู้ที่มาร่วมบุญงานบวชพระในครั้งนี้
ทำการขลิบผมให้นาค
เป็นปฐมฤกษ์ จากนั้นพระสงฆ์จะทำการโกนผมให้นาค
ตามประเพณีการบวชพระที่ปฏิบัติโดยทั่วกันนั้น
ผมนาคที่โกนแล้วจะห่อด้วยใบบัว
แล้วนำไปลอยที่แม่น้ำ
หรือวางไว้ใต้ร่มโพธิ์  
โดยเชื่อว่าจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข  


ในการปลงผมนั้นจะปลงที่บ้านหรือที่วัดก็ได้
แล้วแต่ความสะดวก   แต่โดยทั่วไปนิยมปลงผมที่วัดมากกว่า 
เนื่องจากญาติหรือแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงาน
จะได้มีโอกาสร่วมพิธีตัดผมนาค
อีกทั้งยังเป็นการประหยัดเวลาของเจ้าภาพ
และแขกที่มาร่วมงานอีกด้วย
เพราะเมื่อปลงผมเสร็จจะได้ทำพิธีเวียนประทักษิณรอบสีมา
และเข้าอุโบสถประกอบพิธีอุปสมบทต่อไป 

การแต่งตัวนาคนั้นควรแต่งด้วยชุดขาวทั้งหมด
ซึ่งจะบ่งบอกถึงความสะอาดบริสุทธิ์ ทั้งกาย วาจา ใจ
ของผู้ที่จะบวช การแต่งตัวนาค
ไม่ควรมีเครื่องประดับประดามากจนเกินไป  



เครื่องแต่งตัวนาคตามประเพณีนิยมดังนี้
1. เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาว
2. สบงขาว
3. อังสะขาว

4. เข็มขัด หรือสายรัดสำหรับรัดสบง
ในส่วนเข็มขัดนี้ ใช้สำหรับรัดสบงขาว 
ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมใช้เข็มขัดนาค 
ในกรณีที่ไม่มีเข็มขัดนาคจะใช้เข็มขัดอย่างอื่น
หรือสายรัดแทนก็ได้  ไม่ใช่ข้อกำหนดตายตัว

แต่การใช้เข็มขัดนาคเป็นการปฏิบัติตามประเพณีการบวชพระ
ที่นิยม เพื่อให้สอดคล้องกับคำว่า  "นาค" 
ซึ่งเป็นชื่อเรียกผู้ที่จะบวชในพระพุทธศาสนาเท่านั้น 
5. เสื้อคลุมนาค
6. สร้อยคอ หากมีสร้อยคอจะสวมให้นาคก็ได้
หรือไม่สวมก็ได้ แต่ไม่ควรคล้องพวงมาลัยให้นาค
เพราะจากนาคจะกลายเป็นนักร้องแทน

 


บิดามารดาของพระบวชใหม่
นายมนตรี ยอดปัญญา ประธานศาลฏีกา ปี 2554
นางประทานพร ยอดปัญญา พ.ศาลอุทธรณ์ภาค 9

 ลุงป้าของพระบวชใหม่
นายมณฑล ยอดปัญญา
อดีตข้าราชการครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนพะเยาพิทยาคม จ.พะเยา (ข้าราชการบำนาญุ)
นางดวงพร ไชยมงคลุ
อดีตข้าราชการครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนพะเยาพิทยาคม จ.พะเยา (ข้าราชการบำนาญุ)
นางสาวพุทธิวดี ยอดปัญญา


 

 

การอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุนี้ มีข้อที่ควรทำความเข้าใจ 
คือ ถึงแม้จะบวชเป็นพระภิกษุ 
แต่ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการบวชเป็นสามเณรก่อนทุกครั้ง
 ผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุต้องขอนิสัยจากพระอุปัชฌาย์
เมื่อเสร็จพิธีตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้
เป็นอันจบพิธีบรรพชาและอุปสมบท

 

การจะอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุ บริขารต้องครบทุกอย่าง
ที่เรียกว่าบริขาร 8 จึงจะสามารถบวชได้ 
พระพุทธศาสนาก็จักได้ศาสนทายาทเพิ่ม
เพื่อมาช่วยกันทำนุบำรุงให้พุทธศาสนาเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป

 

อีกทั้งการมีโอกาสได้บวชพระดำรงเพศสมณะ
เป็นผู้ตั้งใจฝึกฝนอบรมตนเอง แม้อาจเพียงช่วงเวลาสั้นๆ
ก็สามารถค้นหาแหล่งความสุขที่แท้จริง
ศึกษาเรื่องราวความจริงของชีวิต


เป้าหมายของการเกิดมาเป็นมนุษย์ ว่าเกิดมาทำไม
ตายแล้วไปไหน บาปบุญคุณโทษ นรกสวรรค์
ภพนี้ภพหน้าและสังสารวัฏ ซึ่งเป็นความรู้ที่มีอยู่
แต่ในพระพุทธศาสนาที่ทนทานต่อการพิสูจน์
แม้เวลาจะผ่านไปยาวนานแค่ไหน

ข้อมูลจาก http://www.dmc.tv