อุทยานแห่งชาติขุนน่าน จังหวัดน่าน ครอบคลุมพื้นที่ป่า
ดอยภูคาและป่าผาแดง ในท้องที่ตำบลดงพญา
ตำบลบ่อเกลือใต้และตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
มีพื้นที่ประมาณ 153,982 ไร่
หรือประมาณ 246.37 ตารางกิโลเมตร


ความเป็นมา: ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2539
ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ได้รับรายงาน จากอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน
รายงานว่า พื้นที่ป่าไม้ในป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยภูคา
และป่าผาแดง ด้านทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา
ในท้องที่อำเภอบ่อเกลือและท้องที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
เนื้อที่ประมาณ 620 ตารางกิโลเมตร
หรือประมาณ 387,500 ไร่
มีสภาพป่าไม้อุดมสมบูรณ์อุดมด้วยพรรณไม้นานาพันธุ์
มีความหลากหลายด้านชีวภาพ และมีธรรมชาติสวยงาม
สามารถพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ
ได้หลายแห่ง จึงขอให้ส่วนอุทยานแห่งชาติรีบส่งเจ้าหน้าที่
เข้าทำการสำรวจ เพื่อประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป


ในเดือนกรกฎาคม 2540 กรมป่าไม้ ได้สั่งการให้
นายสนชัย ลาชโรจน์ตำแหน่งนักวิชาการป่าไม้ 5
ส่วนอุทยานแห่งชาติ ไปดำเนินการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น
ของพื้นที่ เพื่อพิจารณาศักยภาพของพื้นที่ว่าสามารถ
จะดำเนินการเพื่อประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติได้หรือไม่
โดยใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงานสำรวจ 90 วัน
และเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2540
การปฏิบัติงานสำรวจข้อมูลเบื้องต้นพื้นที่ดังกล่าวเสร็จสิ้น
นายสนชัย ลาชโรจน์ ได้จัดทำรายงานผลการสำรวจ
ข้อมูลเบื้องต้น พร้อมจัดทำรายละเอียดลงในแผนที่
เสนอความเห็นรายงานกรมป่าไม้ว่าพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
ป่าดอยภูคาและป่าผาแดงบริเวณดังกล่าวมีศักยภาพเหมาะสม
ที่จะดำเนินการเพื่อประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติอย่างยิ่ง
และควรทำการสำรวจเพื่อประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ
เสียโดยเร็วพร้อมได้เสนอให้ตั้งชื่ออุทยานแห่งชาติ
ที่มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ป่าไม้ในเขตอนุรักษ์ถาวรพื้นที่นี้ว่า
“อุทยานแห่งชาติขุนน่าน”
อันหมายถึง ขุนเขา ลำน้ำ อันเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำน่าน

วันที่ 21 ตุลาคม 2540 กรมป่าไม้
ได้สั่งการให้ นายสนชัย ลาชโรจน์
ไปดำเนินการสำรวจพื้นที่ดังกล่าว
เพื่อประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติขุนน่าน จังหวัดน่าน
และให้มีหน้าที่ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
ด้วยการสำรวจพื้นที่ป่าไม้
้เพื่อประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติขุนน่าน
ได้ดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2542
นายสนชัย ลาชโรจน์ ได้จัดทำรายงานผลการสำรวจ
และจัดทำรายละเอียดพื้นที่
ี่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติขุนน่าน
รายงานกรมป่าไม้ทราบและเพื่อดำเนินการต่อไป






ต่อมาเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2552 อุทยานแห่งชาติขุนน่านได้รับการประกาศ
จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 111 ของประเทศไทย โดยประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนที่ 43 ก
ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2552

ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพภูมิประเทศทั่วไปของพื้นที่
ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติขุนน่าน
เป็นพื้นที่ต้นน้ำชั้น 1 เอ ลักษณะพื้นที่เขาสูงชัน
สลับซับซ้อน ติดต่อกันเป็นเทือกเต็มพื้นที่
มีระดับความสูงตั้งแต่ 600-1,745 เมตรจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลาง โดยมียอดดอยผีปันน้ำในเทือกเขาผีปันน้ำ ในท้องที่ตำบลดงพญา เป็นดอยที่สูงที่สุด
สูงประมาณ 1,745 เมตร
จากระดับน้ำทะเลเฉลี่ย เทือกเขาที่สำคัญในพื้นที่
ี่ได้แก่ เทือกเขาภูฟ้า เทือกเขาขุนน้ำว้าน้อย
เทือกเขาน้ำว้ากลาง และเทือกเขาผีปันน้ำ เป็นต้น
ไม่มีพื้นที่ที่เป็นที่ราบบนภูเขาที่สามารถนำมา
ใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่เกษตรกรรมอย่างถาวรได้

มีลำน้ำว้า อันเป็นลำน้ำสายใหญ่และสำคัญ
ไหลผ่านกลางพื้นที่ในแนวทิศเหนือไหลลงทิศใต้
มีระยะทางการไหลผ่านพื้นที่ประมาณ 25.5 กิโลเมตร
ต้นกำเนิดของลำน้ำว้าเกิดจากเทือกผีปันน้ำ
บริเวณบ้านน้ำว้าในตำบลบ่อเกลือเหนือ นอกเขตพื้นที่
ี่ที่จะประกาศเป็น อุทยานแห่งชาติขุนน่าน ที่บ้านสะปัน
ตำบลดงพญา ผ่านกลางพื้นที่ไปออกพื้นที่ที่จะประกาศ
เป็นอุทยานแห่งชาติ ขุนน่าน ที่บ้านผาสุข ตำบลภูฟ้า
ลำห้วยสำคัญที่ไหลลงน้ำว้า ได้แก่ น้ำปาด น้ำปัน ห้วยตี๋
ห้วยห้า และน้ำแปด

 

ลักษณะภูมิอากาศ

เนื่องจากพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติขุนน่าน
ตั้งอยู่ในภาคเหนือพื้นที่อยู่ระหว่าง
เส้นรุ้ง ที่ 02-32.5 องศาเหนือ
ระหว่างเส้นแวง ที่ 27.2-48.4 องศาตะวันออก
ซึ่งเป็นพื้นที่บริเวณเกือบเหนือสุดของประเทศ
สภาพภูมิประเทศเป็นเขาสูงสลับซับซ้อนเป็นที่สูง
โดยอุณหภูมิของอากาศในพื้นที่จะอยู่ที่
ประมาณระหว่าง 1-7 องศาเซลเซียสในช่วงฤดูหนาว
และประมาณ ระหว่าง 28-33 องศาเซลเซียส
ในช่วงฤดูร้อน

และโดยที่พื้นที่นี้มีป่าไม้และภูเขารอบด้าน
ห่างไกลจากชุมชนเมืองใหญ
่่อากาศพื้นที่จึงมีความบริสุทธิ์ แจ่มใส สดชื่น
เกือบตลอดทั้งปี
ดังนั้น พื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติขุนน่าน
จึงมีความเหมาะสมที่จะเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
โดยเป็นสถานที่ตากอากาศ รับอากาศสดชื่น
ที่ปราศจากมลพิษในอากาศเป็นเวลานานๆ

 

พืชพรรณและสัตว์ป่า

สภาพพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติขุนน่านประมาณร้อยละ 90
ปกคลุมด้วยป่าดิบเขา ส่วนที่เหลือเป็นป่าดิบชื้นและทุ่งหญ้า
ชนิดพันธุ์ไม้และพืชพื้นล่างที่พบในป่าดิบเขา ได้แก่ ก่อเดือย
ก่อแป้น ก่อน้ำ ก่อตาหมู ก่อนก กำลังเสือโคร่ง มณฑาป่า
จำปีป่า หว้า ผักกูด มอส และกล้วยไม้ดิน
สำหรับป่าดิบชื้นซึ่งจะพบบริเวณริมน้ำ ริมห้วย
และตามร่องเขาที่มีความชื้น พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่างที่พบ
ได้แก่ ยาง กระบาก มะหาด มะยมป่า ไผ่บง ไผ่ฮก หวาย
ตาว และเถาวัลย์ชนิดต่าง ๆ


สัตว์ป่าที่สำรวจพบในพื้นที่อุทยานแห่งชาติขุนน่าน
ได้แก่ เก้ง เลียงผา หมูป่า ชะมด หมี เม่น กระรอก
กระแต ไกป่า เป็นต้น
ข้อมูลจากเว็ปสำนักอุทยานแห่งชาติ
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 7/12/53
วัดภูมินทร์วัดพระธาตุแช่แห้ง