ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง - ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 1'09'เหนือ
และ 1'29'เหนือ กับเส้นแวงที่ 103'36'เหนือ และ 104'25'เหนือ หรือประมาณ
137 กิโลเมตรเหนือเส้นศูนย์สูตร
พื้นที่ - ประกอบด้วยเกาะสิงคโปร์และเกาะใหญ่น้อยในบริเวณรอบ
ๆ 63 เกาะ มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 682.7 ตารางกิโลเมตร เกาะสิงคโปร์เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
มีความยาวจากทิศตะวันตกไปตะวันออกประมาณ 42 กิโลเมตร และความกว้างจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ประมาณ
23 กิโลเมตร
ภูมิอากาศ - อากาศร้อนชื้นตลอดปี
และมีอุณหภูมิเฉลี่ย 26.8-31 องศาเซลเซียส
วันชาติ - 9 สิงหาคม
(แยกตัวจากสหพันธรัฐมาเลเซีย เมื่อ 9 สิงหาคม 2508) เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน
- 8 สิงหาคม 2510
ภาษา - อังกฤษ
(ภาษาราชการ) มาเลย์ จีนกลาง ทมิฬ
ศาสนา - พุทธ (42.5%)
อิสลาม (14.9%) คริสต์ (14.6%) ฮินดู (4%)
ประชากร - 4.19
ล้านคน (2546)
เชื้อชาติ - ประกอบด้วยชาวจีน
(76.5%) ชาวมาเลย์ (13.8%) ชาวอินเดีย (8.1%) และอื่น ๆ (1.6%)
เวลา
- GMT+0800 (เวลาที่สิงคโปร์เร็วกว่าเวลาในไทย 1 ชั่วโมง)
การเมืองการปกครอง
พรรคการเมือง - ประกอบด้วยพรรคการเมืองหลัก
3 พรรค ได้แก่ พรรค Peoples Action Party (PAP) พรรค Singapore Democratic
Party (SDA)
และพรรค Workers Party (WP)
รูปแบบการปกครอง
- สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข
และ นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
- ผู้นำสำคัญทางการเมืองนายเอส อาร์ นาธาน (S. R. Nathan) ประธานาธิบดี
นายลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) รัฐมนตรีอาวุโส นายโก๊ะ จ๊ก ตง (Goh Chok
Tong) นายกรัฐมนตรี ศาสตราจารย์ เอส จายากุมาร์ (Professor S. Jayakumar)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
|
|
สถานการณ์การเมืองในสิงคโปร์
- สถานการณ์ทางการเมืองโดยทั่วไปของสิงคโปร์ยังคงมีเสถียรภาพและความมั่นคง
ภายใต้การบริหารของนายโก๊ะ จ๊ก ตง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์
โดยพรรค Peoples Action Party (PAP) เนื่องจากการบริหารประเทศของพรรคดังกล่าวมีประสิทธิภาพดียิ่งมาโดยตลอด
เป็นที่พอใจของประชาชนส่วนใหญ่
- ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2544 โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง
84 คน พรรค PAP ซึ่งเป็นพรรคที่ครองเสียงข้างมากในรัฐสภามาตั้งแต่สิงคโปร์เป็นเอกราช
ได้ที่นั่งในสภา 82 ที่นั่ง ในขณะที่พรรค Singapore Democratic Party (SDA)
และพรรค Workers Party (WP) ได้พรรคละ 1 ที่นั่ง คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดเดิม
ปัจจุบัน พรรค PAP กำลังเตรียมการถ่ายโอนอำนาจการบริหารจากผู้นำรุ่นที่สองคือนายโก๊ะ
จ๊ก ตง ไปสู่ผู้นำคนต่อไป คือนายลี เซียน ลุง บุตรของนายลี กวน ยู
- เมื่อ 28 เมษายน 2546 สำนักนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ได้ออกประกาศเกี่ยวกับการปรับคณะรัฐมนตรีสิงคโปร์
ซึ่งมีการปรับในหลายลักษณะทั้งการเลื่อนตำแหน่ง
ที่สูงขึ้น (4 ตำแหน่ง) การปรับตำแหน่งในระดับเท่ากันหรือลดลง (6 ตำแหน่ง)
และ การพ้นจากตำแหน่ง 1 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นไปตามคำร้องขอของรัฐมนตรีเอง
- เมื่อ 17 สิงหาคม 2546 นายโก๊ะ จ๊ก ตง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ได้กล่าวในสุนทรพจน์วันชาติว่า
จะถ่ายโอนอำนาจให้นายลี เซียน ลุง รองนายกรัฐมนตรี ในปี 2548 ซึ่งเป็นไปตามความเห็นชอบจากทั้งคณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอื่น
ๆ เพื่อให้นายลีมีโอกาสปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีเป็นเวลา 2 ปี ก่อนการเลือกตั้งครั้งต่อไปในปี
2550 ซึ่งจะเป็นการให้โอกาสประชาชนเห็นผลงานของนายลี เซียน ลุง และสร้างความมั่นใจแก่ประชาชน
|
|
เศรษฐกิจการค้า
ระบบเศรษฐกิจ - เสรี
เงินตรา
- ดอลลาร์สิงคโปร์
อัตราแลกเปลี่ยน
- 23.17 บาท/1 ดอลลาร์สิงคโปร์ (มกราคม 2546)
- 1 ดอลลาร์สหรัฐ/1.70 ดอลลาร์สิงคโปร์ (มกราคม 2546)
สังคม
- เน้นการสร้างความสมานฉันท์ทางสังคม เนื่องจากสิงคโปร์มีลักษณะเป็นพหุสังคม
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐสิงคโปร์
สถาปนาความสัมพันธ์ - 20 กันยายน 2508
เอกอัครราชทูตไทยประจำสิงคโปร์ - นายฐากูร พานิช
(Mr. Thakur Panich) (เข้ารับหน้าที่เมื่อมกราคม 2546) สถานเอกอัครราชทูต
ณ สิงคโปร์
เอกอัครราชทูตสิงคโปร์ประจำไทย - นายชัน เฮง เวง
(Mr. Chen Heng Wing) (เข้ารับหน้าที่เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2545) สถานเอกอัครราชทูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทย
สถานะความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สิงคโปร์
- ไทยและสิงคโปร์ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกันเมื่อ 20 กันยายน
2508 ความสัมพันธ์ได้ดำเนินมาอย่างราบรื่นบนพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมาตลอด
39 ปี และได้พัฒนาไปเป็นลักษณะ หุ้นส่วน ที่พร้อมจะให้ความร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
เนื่องจากไทยและสิงคโปร์มีจุดแข็งและมีศักยภาพที่เอื้อประโยชน์ต่อกันเป็นอย่างดี
ไทยมีทรัพยากรธรรมชาติ มีแรงงานจำนวนมาก และมีพื้นที่กว้างใหญ่ ส่วนสิงคโปร์มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีระดับสูงด้านอุตสาหกรรม
ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติและพื้นที่น้อย ซึ่งได้มีการนำจุดแข็งที่ทั้งสองฝ่ายมีมาใช้ร่วมกันจนนำ
ไปสู่การส่งเสริมความสัมพันธ์และการพัฒนาร่วมกันที่ยั่งยืน