เยือนเกาะลังกาวีดินแดนต้องคำสาป (ช่วงที่ 3)

พระนางมัสสุหรี

เกาะลังกาวี หรือ ลังกาวี อัญมณี
แห่งไทรบุรี ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน ใกล้ฝั่งทะเลตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมาเลย์เซีย
ขึ้นกับรัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย เกาะแห่งนี้เป็น
ที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวมาเลย์
ว่ามีตำนานที่เล่าขานกันมาถึงเจ้าหญิงชายารัชทายาท
ซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อ 200 กว่าปีมาแล้วนามว่ามัสสุหรี
ซึ่งเป็นหญิงคนไทย ลูกหลานชาวภูเก็ต

พ่อกับแม่พระนางมัสสุหรี มีอาชีพค้าขายทางเรือ
ระหว่าง ภูเก็ตกับเกาะปีนัง จนกระทั่ง
วันหนึ่งได้ตั้งท้อง
และซินแสได้ทำนายทายทักว่า
เด็กในท้องจะเป็นผู้หญิง ที่มีบุญญาธิการสูง
เป็นคนดีที่เคารพแก่คนทั่วไป
พ่อและแม่ของพระนางฯ เชื่อในคำทำนายของซินแส
ประกอบกับการค้าขายที่ผ่านมา ไม่สามารถสร้าง
ความร่ำรวย เหมือนคนอื่นๆเขา

สาเหตุเพราะไม่มีเรือสำเภาเป็นของตนเอง
ต้องอาศัยเช่าเรือคนอื่น
ทำให้มีผลกำไรน้อยจนไม่สามารถทำให้ร่ำรวยขึ้นมาได้
อีกทั้งเด็กหญิงมัสสุหรีที่เกิดมา ก็น่ารักน่าชัง
พ่อและแม่ของเด็กหญิงมัสสุหรี จึงขายข้าวของทั้งบ้าน
และที่ดินจนหมด เพื่อลงทุนซื้อเรือ
และสินค้าไปขายที่เกาะปีนัง แต่ในที่สุด
ขณะที่เด็กหญิงมัสสุหรี อายุได้ 7 ขวบ ระหว่างเดินเรือ
กลางทะเล เกิดพายุใหญ่ขึ้น ด้วยความเป็นห่วงลูก
พ่อและแม่ได้เข้ามาโอบกอดกลัวลูกตกทะเล


ทำให้ทิ้งการควบคุมใบเรือและหางเสือ
ทำให้เรือล่มกลางทะเล ทุกคนตกลงสู่ทะเล
ด้วยความห่วงลูก จึงอธิษฐานว่า
หากเด็กคนนี้มีบุญญาธิการจริง
ก็ขอให้รอดพ้นจากการจมน้ำเถิด
ทั้งสามแม่ลูกจึงรอดชีวิตอย่างปาฏิหาริย์
ไปติดที่เกาะแห่งหนึ่ง เกาะนั้นคือ ลังกาวี
ที่แปลว่า นกอินทรีย์สีน้ำตาล

บนเกาะลังกาวีนั้น
มีคนมาเลย์พื้นเมืองเดิม มีสุลต่านปกครองชาวประชา
เหมือนรัฐอื่นๆในแถบคาบสมุทรมาลายู
สามพ่อแม่ลูกจึงเดินทางเข้าไปก็ไม่ได้รับ
การต้อนรับจากชนพื้นเมืองนัก
จึงเดินทางไปยังใจกลางเกาะซึ่งเป็นป่ารกทึบ
(ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของเรือนใกล้สุสานของพระนางมัสสุหรี)
พ่อของเด็กหญิงมัสสุหรีจึงได้ตัดเอาไม้บริเวณนั้น
สร้างกระท่อมเล็กๆ เพื่ออยู่อาศัย
จนกระทั่งเกิดวิกฤติ ภัยแล้งอย่างหนัก
ทั่วทั้งเกาะ ไม่มีน้ำ แม้แต่หยดเดียวบนเกาะแห่งนี้

ผู้คนเดือดร้อนไปทั่ว บ้างก็อพยพหนีไปที่อื่น
เรือกสวนไร่นา สัตว์เลี้ยง เสียหายหมด
ด้วยความเป็นเด็กฉลาด และได้ยินพ่อแม่
เล่าให้ฟังอยู่เสมอว่า
ตนเองเป็นเด็กที่มีบุญญาธิการ
เด็กหญิงมัสสุรี จึงยกมือสองมือระดับหน้าอก
ลักษณะเหนียดหรืออธิษฐาน
จากพระเจ้า(ขอพรแบบอิสลาม) ว่า
“ได้โปรดเถิดพระเจ้า
หากข้าพเจ้ามีบุญญาธิการจริงขอพระเจ้า
ได้ประทานแหล่งน้ำให้ข้าพเจ้าด้วย เถิด”
ระหว่างอธิษฐานก็ไปสะกิดก้อนกรวดหิน
ทำให้พบตาน้ำไหลออกมา จึงรีบไปบอกพ่อและแม่

พ่อและแม่ พ่อจึงลงมือขุดเป็นบ่อน้ำ
และเด็กหญิงมัสสุหรีขอให้พ่อไปแจ้ง
ให้ชาวบ้านทราบและกล่าวว่าทุกคนในเกาะนี้
สามารถมาตักน้ำไปดื่มกินได้เลย ข่าวแพร่สะพัดไปทั่วเกาะ
มีผู้คนมากมายเข้า ดื่มกินน้ำและนำกลับบ้าน
โดยคุณสมบัติพิเศษของน้ำในบ่อแห่งนี้
เมื่อคนไข้นำไปดื่มกิน ก็จะหายจากโรคร้าย
จึงลือกันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์


มัสสุรีนั้น เป็นเด็กที่ขยัน
เด็กที่ดีของพ่อแม่ ช่วยเหลืองานบ้านงานเรือน
ซื่อสัตย์ เชื่อฟังพ่อแม่
และที่สำคัญไม่เคยพูดโกหก
ทุกวันเมื่อพ่อแม่กลับมา
ถึงบ้าน มัสสุรีจะถือขันน้ำสำหรับพ่อ
และแม่ดื่มเพื่อแก้กระหายในมือข้างขวา
ส่วนมือข้างซ้ายมัสสุรีจะถือไม้เรียว
สำหรับคอยรายงานว่าตนเองทำผิดอะไร
หรือพ่อจะลงโทษหากพ่อไปได้ยินใครเขาฟ้องอะไรพ่อ
ซึ่งเป็นที่ร่ำลือของชาวบ้าน

ยามใดที่มีคนยาก หรือขอทานผ่านมา มักจะชวนเข้าบ้าน
พูดคุยด้วย ให้ทาน เป็นน้ำข้าวปลาอาหารสม่ำเสมอ
จนกระทั่งโตเป็นสาว ก็มีรูปสวย งามที่สุดบนเกาะลังกาวี
จนในที่สุดความงามและความมีน้ำใจของหญิงไทยผู้นี้
ดังกระฉ่อนไปถึงหูของ "วันดารุส"
โอรสของสุลต่านผู้ซึ่งปกครองเกาะลังกาวีแห่งนี้
ด้วยความสนพระทัย
วันดารุสจึงปลอมตัวเป็นขอทาน
มาขอข้าวขอน้ำที่หน้าบ้านของพระนางมัสสุหรี


ก็เช่นกัน มัตสุหรีก็ต้อนรับขับสู้ เอาน้ำ
เอาข้าวปลามาให้สุลต่านในคราบขอทาน
จึงเป็นที่พอพระทัยอย่างยิ่ง
วันดารุสทำอย่างนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า
จนทั้งสองเกิดความรักซึ่งกันและกัน
โดยที่พระนางมัสสุรี ไม่ล่วงรู้เลยว่า
ผู้ชายที่ตนกำลังหลงรักอยู่นั้นคือ
รัชทายาทผู้ปกครองเกาะลังกาวี
วัน ดารุสตัดสินใจบอกกับพระมารดาว่า
พบหญิงที่รัก หญิงที่ชอบ
และคิดว่าเหมาะสมกับตนแล้ว
อยากแต่งงานมีครอบครัวเสียที
ขอให้พระมารดาช่วยไปสู่ขอ

พระมารดาดีใจมาก
เพราะอยากให้ลูกเป็นฝั่งเป็นฝาและพระมารดาได้ถามว่า
"เธอคนนั้นเป็นลูกเต้าหรือเชื้อพระวงศ์ที่ไหน"
วันดารุสเล่าความตามที่เตรียมไว้
และเมื่อพระมารดาทราบว่า เธอเป็นหญิงสาว ลูกชาวบ้าน
แถมเป็นคนไทยที่อพยพมาจากภูเก็ต ไม่มีหัวนอนปลายเท้า
พระมารดาก็ออกปากปฏิเสธทันที เพราะ เธอเป็นคนไทย
หรือเพราะเหตุใด...


ในที่สุดเจ้าชายวันดารุส จึงใช้วิธี
ยื่นคำขาดกับพระมารดา
โดยหากพระมารดาไม่ดำเนินการไปสู่ขอ
พระนางมัสสุรีตามความต้องการของตน
(หลักศาสนาอิสลาม
ผู้ปกครองต้องเป็นผู้สู่ขอให้) มิเช่นนั้น
ตนจะปลิดชีพตนเอง

ด้วยความรักลูก
พระมารดากลัวลูกชายจะฆ่าตัวตาย
จึงยินยอมไปสู่ขอพระนางมัสสุหรีแต่โดยดี
แต่ในใจนั้น
ผูกพยาบาทโกรธพระนางมัสสุหรียิ่งนัก
จึงคิดหวังจะกำจัดพระนางฯเมื่อสบโอกาส

เมื่อคณะทัวร์น้ำหมาก ได้ยินเสียงเพลง ลอยกระทง
จากคณะดนตรีพื้นเมือง ที่บ้านพระนางมัสสุหรี
เพื่อต้อนรับพวกเรา
......(ดนตรี) วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง
เราทั้งหลายชายหญิง สนุกกันจริง วันลอยกระทง

ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง
ลอยกระทงกันแล้ว
ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง

รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง
บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ
(ดนตรี)....
ช่วงที่ 4 พระนางมัสสุหรี ตอนจบ